วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Adjectives หรือ คำคุณศัพท์

 หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนาม (ขยายสรรพนามต้องอยู่หลังตลอดไป) เพื่อบอกให้รู้ลักษณะคุณภาพ หรือคุณสมบัติของนามหรือสรรพนามนั้นว่า เป็นอย่างไร? ได้แก่คำว่า        
       
        good ดี      
        bad เลว      
        tall สูง      
        dirty สกปรก      
        wise ฉลาด      
        red แดง      
        fat อ้วน      
        thin ผอม      
        this นี้      
        those เหล่านั้น      
        short สั้น      
        white ขาว      
         
         
ชนิดของ Adjective    
    
Adjective ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 11 ชนิด คือ       
 
          1. Descriptive Adjective  คุณศัพท์บอกลักษณะ        
          2. Proper Adjective   คุณศัพท์บอกสัญชาติ        
          3. Quantitative Adjective  คุณศัพท์บอกปริมาณ        
          4. Numbearl Adjective  คุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอน        
          5. Demonstrative Adjective  คุณศัพท์ชี้เฉพาะ        
          6. Interrogative Adjective  คุณศัพท์บอกคำถาม        
          7. Possessive Adjective  คุณศัพท์บอกเจ้าของ        
          8. Distributive Adjective  คุณศัพท์แบ่งแยก        
          9. Emphaszing Adjective  คุณศัพท์เน้นความ        
          10. Exclamatory Adjective  คุณศัพท์บอกอุทาน        
          11. Relative Adjective  คุณศัพท์สัมพันธ์

1. Descriptive Adjective คือ "คำคุณศัพท์บอกลักษณะ" หมายถึง คำที่ใช้ลักษณะหรือคุณภาพของคนสัตว์ สิ่งของและสถานที่เพื่อให้รู้ว่า นามนั้นมีลักษณะอย่างไร ได้แก่คำว่า good, bad, tall, shot, black, fat, thin, fat, thin, clever, foolish, poor, rich, brave, cowardly, pretty, agly, happy, sorry, etc.

ตัวอย่างเช่น :   The rich man lives in the big house. (คนรวยอาศัยอยู่บ้านหลังใหญ่)        
                  A clever pupil can answer the difficult problem. (นักเรียนที่ฉลาดสามารถตอบปัญหายากได้)      
                  The black cat cuagh a smail bird. (แมวดำตัวนั้นจับนกได้)        
ข้อสังเกต : rich, big, clever, difficult, black และ small เป็นคุณศัพท์บอกลักษณะ

2. Proper Adjective คือ "คุณศัพท์บอกสัญชาติ" หมายถึง คำที่ไปขยายนามเพื่อบอกสัญชาติ ซึ่งอันที่จริงมีรูปเปลี่ยนมาจาก Proper noun นั่นเอง ได้แก่
          Proper Noun              Proper Adjective  คำแปล
          (เป็นนามเฉพาะ)              (เป็นคุณศัพท์บอกสัญชาติ)  
          England    English       อังกฤษ, คนอังกฤษ
          America    American    อเมริกา, คนอเมริกัน
          Thailand   Thai           ไทย, คนไทย
          India        Indian        อินเดีย, คนอินเดีย
          Germany   German      เยอรมัน, คนเยอรมัน
          Italy         Italian        อิตาลี, คนอิตาเลี่ยน
          Japan       Japanese    ญี่ปุ่น, คนญี่ปุ่น
          China       Chinese      จีน, คนจีน
         
ตัวอย่างเช่น :   John employs a chinese cook. (จอห์นจ้างพ่อครัวชาวจีนคนหนึ่ง)        
                  Do you learn French literature? (คุณเรียนวรรณคดีฝรั่งเศสหรือ)        
                  The English language is used by every nation. (ภาษาอังกฤษใช้ในทุกประเทศ)        
         
ข้อสังเกต : Chinese, French, English เป็นคำคุณศัพท์บอกสัญชาติ

3. Quantitive Adjective คือ "คำคุณศัพท์บอกปริมาณ" หมายถึง คำที่ไปขยายนาม เพื่อบอกให้ทราบปริมาณของสิ่งเหล่านั้นว่า มีมากหรือน้อย (แต่ไม่บอกจำนวนแน่นอน)ได้แก่ much, many, little, some, any, enough, half, great, all, whole, sufficent, etc.        
         
ตัวอย่างเช่น :   He ate much rice at school yesterday.(เขากินข้าวมากที่โรงเรียนเมื่อวานนี้)        
                 Linda did not give any money to her younger brother.(ลินดาไม่ได้ให้เงินแก่น้องชายของหล่อน)        
                 Take great care of your health.(เอาใจใส่ต่อสุขภาพของคุณให้มากหน่อย)
ข้อสังเกต : much, any, great ในประโยชน์ทั้ง 3 เป็นคำคุณศัพท์บอกปริมาณ

4. Numberal Adjective คือ "คำคุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอน" หมายถึง คำที่ไปขยายนาม เมื่อบอกจำนวนแน่นอนของนามว่ามีเท่าไหร่ แบ่งเป็นชื่อย่อยได้ 3 ชนิด คือ
         
4.1 Cardinal Numberal Adjective คือ คุณศัพท์ที่ใช้บอกจำนวนนับที่แน่นอนของนาม ได้แก่  one, two, three, four, five, six, seven, etc. 
       
ตัวอย่างเช่น :   She gave me two apples and three organes.(หล่อนให้แอปเปิ้ลสองผล และส้มสามผลแก่ฉัน)        
                  Bill wants to buy seven pens.(บิลต้องการซื้อปากกาเจ็ดด้าม)        
         
ข้อสังเกต : two, three, seven เป็นคุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอนวางไว้หน้านาม

4.2 Ordinanal Numberal Adjective คือ "คำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกลำดับที่ของนามนั้นๆ ได้แก่  first, second, third, fifth, sixth, seventh, etc.  
      
ตัวอย่างเช่น :   Tom is the first boy to be rewarded in this school.(ทอมเป็นเด็กคนแรกที่ได้รับรางวัลในโรงเรียนนี้)        
                  Sam won the third prize last month and the second one last week.(แซมได้รับรางวัลที่ 3 เมื่อเดือนที่แล้ว และสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับรางวัลที่ 2)        
                  I am the seventh son of my family.(ฉันเป็นลูกคนที่ 7 ของครอบครัว)        
         
ข้อสังเกต : first, third, second, seventh เป็นคุณศัพท์บอกลำดับที่วางไว้หน้านาม

4.3 Mutiplicative Adjective คือ "คุณศัพท์บอกจำนวนทวีของนาม" ได้แก่ double, triple, fourfold   
   
ตัวอย่างเช่น :   Some roses are double.(ดอกกุหลาบบางดอกก็มีกลีบ 2 ชั้น)        
                  Buddha, Dhamma, and Sangha are triple gems.(พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คือแก้ว 3 ประการ)        
        
ข้อสังเกต : double, triple เป็นคำคุณศัพท์บอกจำนวนทวีของนาม

5. Demonstrative adjective คือ คุณศัพท์ชี้เฉพาะหรือนิยมคุณศัพท์หมายถึง คําที่ชี้เฉพาะให้กับนามใดนามหนึ่ง ได้แก่ this, that (ใช้กับนามเอกพจน์),these ,those (ใช้กับนามพหูพจน์) such, same     
   
ตัวอย่างเช่น:    I invited that man to come in.(ฉันได้เชิญผู้ชายคนนั้นให้เข้ามาข้างใน)        
                  Jan hated such things because they made her ill.(แจนเกลียดสิ่งเหล่านั้นเพราะมันทําให้เธอไม่สบาย)        
                  They said the same thing two or three times.(พวกเขาพูดถึงสิ่งเดียวกันนี้2หรือ3ครั้งแล้ว)        
         
ข้อสังเกต: that,such,same เป็นคุณศัพท์ชี้เฉพาะวางไว้หน้านาม

6.interrogative adjective คือ คุณศัพท์บอกคําถามหมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคําถามโดยจะวางไว้    
ต้นประโยคและมีนามตามหลังเสมอ ได้แก่ what, which, whose 
       
ตัวอย่างเช่น:   What book is he reading in the room? (เขากําลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ในห้อง)        
                 Which way shall we go? (เราจะไปทางไหนกันนี่?)        
                 Whose shoes are these? (รองเท้านี้เป็นของใคร)     

ข้อสังเกต: what,which,whose เป็นคุณศัพท์บอกคําถามอยู่หน้าประโยค

7. Possessive adjective คือ คุณศัพท์บอกเจ้าของหรือสามีคุณศัพท์ หมายถึง คําคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกความเป็นเจ้าของของนาม ได้แก่ my,our,your,his,her,itsและtheir

ตัวอย่างเช่น :   This is my table.(นี่คือโต๊ะของฉัน)        
                  Her pen is on my desk.(ปากกาของหล่อนอยู่บนโต๊ะฉัน)        
                  Our nation needs solidarity.(ชาติของเราต้องการความสามัคคี)        
                  Their parents work hard every day.(พ่อแม่ของพวกเขาทํางานหนักทุกวัน)     

ข้อสังเกต : my, her, our, their เป็นคุณศัพท์บอกเจ้าของวางไว้หน้านาม 

8. Distributive คือ คุณศัพท์แบ่งแยก หมายถึง คําคุณศัพท์ที่ไปขยายนาม เพื่อแยกนามออกจากกันเป็น อันหนึ่ง หรือส่วนหนึ่งได้แก่ each(แต่ละ), every(ทุกๆ), either(ไม่อันใดก็อันหนึ่ง), neither(ไม่ทั้งสอง)

ตัวอย่างเช่น :   The two men had each a gun.(ชายสองคนนี้มีปืนคนละกระบอก)        
                   Every soldier is punctually in his place.(ทหารทุกคนเข้าประจําที่ของตัวตรงเวลาดี)        
                   Either side is a narrow lane.(ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่งเป็นซอยแคบ)        
                   Neither accusation is true.(ข้อกล่าวหาทั้งสองข้อไม่เป็นความจริง)    

ข้อสังเกต: each,every,either,neither เป็นคุณศัพท์แบ่งแยกมาขยายนาม

9. Emphasizing Adjective คือ คุณศัพท์เน้นความ หมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อเน้นความให้มีนำหนักขึ้น ได้แก่ own(เอง),very(ที่แปลว่า นั้น,นั้นเอง,นั้นจริงๆ)

ตัวอย่างเช่น:  Linda said that she had seen it with her own eyes.(ลินดาพูดว่าหล่อนได้เห็นมันมากับตาเธอเอง)        
                He is the very man who stole my wrist watch last night.(เขาคือชายผู้ซึ่งได้ขโมยนาฬิกาข้อมือของฉันไปเมื่อคืนนี้)        
                Jean is my own girl-friend.(จีนคือแฟนผมเอง)    

ข้อสังเกต : own,very เป็นคุณศัพท์เน้นความขยายนามที่ตามหลังให้มีนําหนักขึ้น

10. Exclamatory Adjective คือ คุณศัพท์บอกอุทาน หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายเพื่อให้เป็นคําอุทาน ได้แก่ what  
  
ตัวอย่างเช่น:    What a man he is!(เขาเป็นผู้ชายอะไรนะเนี่ย!)        
                  What an idea it is!(มันเป็นความคิดอะไรกันหนอ!)        
                  What a piece of work he does!(เขาทํางานได้เยี่ยมจริงๆ!)        

         
ข้อสังเกต : what ทั้ง 3 คํา ในประโยคเหล่านี้เป็นคุณศัพท์บอกอุทาน

11. Relative Adjective คือ คุณศัพท์สัมพันธ์ หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามที่ตามหลังและในขณะเดียวกันก็ยังทําหน้าที่คล้ายส้นธาน  เชื่อมความในประโยคของตัวเองกับประโยคข้างหน้าให้สัมพันธ์กันอีกด้วย ได้แก่ what(อะไรก็ได้),whichever(อันไหนก็ได้)      
  
ตัวอย่างเช่น:        
          Give me what money you have. (จงให้เงินเท่าที่คุณมีอยู่แก่ฉัน)        
          I will take whichever horse you don t want. (ฉันจะนําเอาม้าตัวที่คุณไม่ต้องการ)        
          He will read what book he wishes. [แซมจะอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่เขาปราถนา (จะอ่าน)]

ข้อสังเกต : What, Whichever เป็นคุณศัพท์สัมพันธ์ ไปขยายนามที่ตามหลัง และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าและประโยคหลังให้กลมกลืนกันอีกด้วย

Adjective เวลานำไปพูดหรือเขียนมีวิธีใช้อยู่ 4 อย่างคือ        
         
1. เรียงไว้หน้าคำนามที่คุณศัพท์นั้นไปขยายโดยตรงได้ เช่น        
          * The thin man can run very quickly.(คนผอมสามารถวิ่งได้เร็วมาก)        
          * A wise boy is able to answer a difficult problem. (เด็กฉลาดสามารถตอบปัญหาที่ยากได้)        
          * The beautiful girl is wanted by a young boy. (สาวสวยย่อมเป็นที่หมายตาของเด็กหนุ่ม)    
    
ข้อสังเกต : thin , wise , difficult , beautiful ,young เป็นคุณศัพท์เรียงขยายไว้หน้านามโดยตรง

2. เรียงไว้หลัง Verb to be, look feel, seem, get, taste, smell, turn, go, appear, keep, become, sound, grow, etc.ก็ได้ Adjective ที่เรียงตามกริยาเหล่านี้ ถือว่าขยายประธาน แต่วางตามหลังกริยา เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึงว่า Subjective Complement เช่น        
          * I'm feeling a bit hungry. (ฉันรู้สึกหิวนิดๆ)        
          * Sugar tastes sweet. (น้ำตาลมีรสหวาน)   
     
ข้อสังเกต: hungry และ sweet เป็น Adjective เรียงไว้หลังกริยา feeling และ tastes ทั้งนั้น

3. เรียงคำนามที่ไปทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยขยายเนื้อความของกรรมนั้นให้สมบรูณ์ขึ้น Adjiective ที่ใช้ในลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นObjiective Complement เช่น        
          * Sam made his wife happy. (แซมทำภรรยาของเขาให้มีความสุข)        
          * I consider that man mad. (ฉันพิจารนาดูแล้วว่า ชายคนนั้นเป็นบ้า)        
          *This matter made me foolish. (เรื่องนี้ทำให้ฉันโกรธไปได้)  
      
ข้อสังเกต: happy,mad และ foolish เป็น Adjective ให้เรียงหลังนาม และสรรพนามที่เป็น Object คือ wife,man,me

4. เรียง Adjective ไว้หลังคำนามได้ ไม่ว่านามนั้นจะทำหน้าที่เป็นอะไรก็ตาม ถ้า Adjective ตัวนั้นมีบุพบทวลี (Perpositional Phrase)มาขยายนามตามหลัง เช่น        
          * A parcel posted by mail today will reach him tomorrow.  (พัสดุที่ส่งทางไปรษณีย์วันนี้จะถึงเขาวันพรุ่งนี้)        
ข้อสังเกต: posted เป็น Adjective เรียงตามหลังนาม parcal ได้เพราะมีบุพบทวลี by mail today มาขยายตามหลัง    
          * I have known the manager suitable for his position. (ฉันได้รู้จักผู้จัดการซึ่งก็มีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งของเขา)   
     
ข้อสังเกต: suitable เป็นคุณศัพท์ เรียงไว้หลังนาม manager ได้เพราะมีบุพบท วลี for his position มาขยายตามหลัง    
* ข้อยกเว้น ในการใช้ Adjecive บางตัวเมื่อไปขยายนาม

การใช้ Adjecive ไปขยายนามหรือประกอบนามตามแบบตั้งแต่ ข้อ 1 ถึง 4 นั้น หมายถึง Adjecive ทั่วไปเท่านั้น แต่ถ้าเป็น Adjective ที่จะกล่าวต่อไปนี้แล้วให้มีวิธีใช้ขยายนามหรือประกอบนาม ได้เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น คือ ประกอบหน้านาม หรือเรียงหลังกริยา จะใช้ทั้ง 2 อย่างไม่ได้ นั้นคือ

Adjective - Equivalent  คือ "คำที่ใช้เสมือนเป็นคุณศัพท์" ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า คำที่จะนำมาใช้เสมือนหนึ่งเป็นคุณศัพท์ที่จะกล่าวต่อไปนี้   
     
1. คำนาม (Noun) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามด้วยกันได้ แต่ให้วางไว้หน้านามที่มันไปขยายนั้นทุกครั้งไป เช่น    
          - Yale University is the place for political studies.  (มหาวิทยาลัยเยลเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาวิชาการเมือง) 
       
          ข้อสังเกต : Yale เป็นนามนำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยาย university ซึ่งเป็นนามด้วยกัน    
    
          - My younger brother wishes to study at Suan Dusit College. (น้องชายของฉันประสงค์จะเรียนที่วิทยาลัยสวนดุสิต)        
           ข้อสังเกต : Suan Dusit เป็นนาม แต่นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนาม college ได้    
    
          - They have worked in New York City for two years.(พวกเขาได้ทำงานอยู่ที่เมืองนิวยอร์คเป็นเวลา 2 ปีแล้ว)   
     
          ข้อสังเกต : New York เป็นนามนำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนามที่ตามหลัง คือ City   
      
         
2. คำนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ โดยมี Apostrophe ( 's ) มาใช้ควบนั้น นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามได้ และให้เรียงไว้หน้านามตัวนั้นตลอดไป เช่น 
       
          - John's house was built in Denver five years ago.  (บ้านของจอห์นได้สร้างไว้ที่เดนเวอร์ เมื่อ 5 ปีมาแล้ว)        
          ข้อสังเกต : เป็นคำนามที่นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนาม house ได้ 
          - The teacher's table is larger than the students. (โต๊ะของครูมีขนาดใหญ่)        
          ข้อสังเกต : teacher's เป็นนาม นำมาใช้บยายนาม table ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ได้        
         
3. Infinitive (กริยาสภาวมาลา ได้แก่ to + V.1) นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนามหรือสรรพนามได้ แต่วางไว้หลังนามที่มันขยายเสมอ เช่น  
          - He has no money to give me for buying a pen. (เขาไม่มีเงินที่จะให้ฉันซื้อปากกา)        
          ข้อสังเกต : to give เป็น Infinitive นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนาม money ได้        
          - This book is good for you to read.  (หนังสือเล่มนี้ดีสำหรับคุณที่จะอ่าน)        
          ข้อสังเกต : to read เป็น Infinitive นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายสรรพนาม you ได้        
         
4. Participle นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนามได้ และให้วางไว้หน้านามที่มันไปขยายทุกครั้ง เช่น        
          - The standing boy is afraid of the running dog.  (เด็กชายที่ยืนอยู่กลัวสุนัขที่วิ่งมา)        
          ข้อสังเกต : standing, running เป็น Participle นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนามได้        
         
5. Gerund (กริยานาม คือ Verb เติม ing แล้วนำมาใช้อย่างนามซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไปนี้เช่นกัน) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามได้และวางไว้หน้านามนั้นตลอดไป เช่น
          - Now he is waiting for you in the meeting room. (เดี๋ยวนี้เขากำลังรอคุณอยู่ที่ห้องประชุม)        
          ข้อสังเกต : meeting เป็น gerund นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม room        
         
6. Phrase (วลีทุกชนิด) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามหรือสรรพนามได้ ส่วนตำแหน่งวางของวลีคุณศัพท์นั้นอยู่หน้านามก็มี อยู่หลังนามก็มี เช่น
          - The man in this room is our guest.  (ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้เป็ฯแขกของเรา)        
          ข้อสังเกต : in this room เป็นวลีมาทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์มาขยายนาม man ที่อยู่ข้างหน้า        
          - He wants to buy the corner.   (เขาต้องการซื้อบ้านที่อยู่มุมถนนนั้น)        
          ข้อสังเกต : on the corner เป็นวลีมาทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม house ที่อยู่ข้างหน้า        
         
7. Subordinate Clause (อนุประโยค)
 นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามได้ และให้วางไว้หลังนามที่ไปขยายทุกครั้ง เช่น    
          - This is the house that Jack built.   (นี้คือบ้านที่แจ๊คสร้างเอาไว้)        
          ข้อสังเกต : that Jack built เป็น Subordinate Clause มาทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนามhouseที่วางอยู่ข้างหน้า     
          - I know Mr. Clinton whom you want to see. (ฉันรู้จัก มิสเตอร์คลินตัน ผู้ซึ่งคุณต้องการพบ)        
          ข้อสังเกต : whom you want to see เป็น Subordinate Clause (ประเภทคุณานุประโยค) มาทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม
          Mr.Clinton ซึ่งวางอยู่ข้างหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

Phrasal verbs

        คือ การใช้คำกริยาที่ปกติแล้วมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ส่วนประกอบ เมื่อ verb+ preposition or particle มารวมกันเป็น Phrasal verbs แล้ว อาจจะทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่มีเค้าความหมายของคำกริยาเดิมเลย นิยมใช้กันมากในภาษาอังกฤษ อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

หลักการใช้ Direct & Indirect Speech ในภาษาอังกฤษ

ในบางครั้ง เรามีความจำเป็นต้องยกคำพูดของบางคนขึ้นมา หากเป็นการยกมาตรงๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใดๆ
 อ่านเพิ่มเติม